วันอังคารที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2557

การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาหรือข้อตกลง

          การที่ส่วนราชการได้ทำสัญญาหรือข้อตกลงเป็นหนังสือกับผู้ขายหรือผู้รับจ้างแล้ หากมีความจำเป็นที่ต้องแก้ไขเปลี่ยนแปลง หรือข้อตกลง หรือพิจารณาขยายระยะเวลาตามสัญญา  การงดหรือลดค่าปรับแล้ว ให้คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ หรือ คณะกรรมการตรวจการจ้าง เป็นผู้เสนอความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาของหัวหน้าส่วนราชการ หรือผู้มีอำนาจในการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญา การขยายระยะเวลาตามสัญญา การงดหรือลดค่าปรับในแต่ละครั้ง

ที่มา : หนังสือเวียน ที่ นร (กวพ) 1305/ว 11948 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2543

วันจันทร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2556

การตรวจรับพัสดุ

            การตรวจรับพัสดุ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 71 กำหนดหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ ดังนี้
            1. ตรวจรับพัสดุ ณ ที่ทำการของผู้ใช้พัสดุ หรือสถานที่กำหนดไว้ในสัญญาหรือข้อตกลง
            2. ตรวจรับพัสดุให้ถูกต้องครบถ้วนตามหลักฐานที่ตกลงกันไว้ สำหรับกรณีที่มีการทดลอง หรือตรวจสอบในทางเทคนิคหรือทางวิทยาศาสตร์ จะเชิญผู้ชำนาญการหรือผู้ทรงคุณวิฒิที่เกึ่ยวกับพัสดุนั้นมาให้คำปรึกษาหรือส่งพัสดุนั้นไปทดลอง หรือตรวจสอบ ณ สถานที่ของผู้ชำนาณการหรือผู้ทรงคุณวิฒินั้น ๆ ก็ได้
            3. โดยปกติให้ตรวจรับพัสดุในวันที่ผู้ขายหรือผู้รับจ้างนพัสดุมาส่ง และให้ดำเนินการให้เสร็จสิ้นไปโดยเร็วที่สุด (ตามหนังสือเวียน ที่ นร 1305/ว 5855 ลงวันที่ 11 กรกฎาคม 2544 กำหนดระยะเวลาในการตรวจรับพัสดุให้เสร็จสิ้นไปโดยเร็วที่สุด แต่อย่างช้าไม่เกิน 5 วันทำการ นับแต่วันที่คู่สัญญานำพัสดุมาส่งมอบ ทั้งนี้ ระยะเวลาดังกล่าวไม่รวมถึงระยะเวลาในการตรวจทดลอง หรือตรวจสอบในทางเทคนิค หรือทางวิทยาศาสตร์)
            4. เมื่อตรวจสอบถูกต้องครบถ้วนแล้ว ให้รับพัสดุไว้และถือว่าผู้ขายหรือผู้รับจ้างได้ส่งมอบพัสดุถูกต้องครบถ้วนตั้งแต่วันที่ผู้ขายหรือผู้รับจ้างนำพัสดุนั้นมาส่่ง และมอบแก่เจ้าหน้าที่พัสดุพร้อมกับทำใบตรวจรับโดยลงชื่อไว้เป็นหลักฐานอย่างน้อย 2 ฉบับ ให้แก่ผู้ขายหรือผู้รับจ้าง 1 ฉบับ และเจ้าหน้าที่พัสดุ 1 ฉบับ เพื่อดำเนินการเบิกจ่ายเงินต่อไป
            5. กรณีส่งมอบพัสดุถูกต้องแต่ไม่ครบถ้วน หรือส่งมอบครบจำนวนแต่ไม่ถูกต้องทั้งหมด ให้ตรวจรับไว้เฉพาะจำนวนที่ถูกต้อง และให้รีบรายงานหัวหน้าส่วนราชการเพื่อแจ้งให้ผู้ขายหรือผู้รับจ้างทราบภายใน 3 วันทำการนับแต่วันตรวจพบ
            6. การตรวจรับพัสดุที่ประกอบกันเป็นชุด หรือหน่วย ถ้าขาดส่วนประกอบอย่างใดอย่างหนึ่งไปแล้วจะไม่สามารถใช้การได้โดยสมบุรณ์ให้ถือว่าผู้ขายหรือผู้รับจ้างยังมิได้ส่งมอบพัสดุนั้น และให้รีบรายงานหัวหน้าส่วนราชการ เพื่อแจ้งให้ผู้ขายหรือผู้รับจ้างทราบภายใน 3 วันทำการ นับแต่วันที่ตรวจพบ
            7. ถ้ากรรมการตรวจรรับพัสดุบางคนไม่ยอมรับพัสดุโดยทำความเห็นแย้งไว้ ให้เสนอหัวหน้าส่วนราชการเพื่อพิจารณาสั่งการ

วันพฤหัสบดีที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2556

การเบิกจ่ายเงินให้กับผู้ค้าที่เป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ

          คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้กำหนดมาตรการเพื่อให้หน่วยงานของรัฐปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการทำและแสดงบัญชีรายการรับจ่าย ของโครงการที่บุคคลหรือนิติบุคคลเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2554 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ในส่วนของส่วนราชการขั้นตอนภายหลังทำสัญญา
          1. กรณีที่มีการเบิกจ่ายเงินผ่านระบบ GFMIS ต้องดำเนินการบันทึกข้อมูลการจัดซื้อจ้ดจ้างในระบบ e-GP ระยะที่ 2 หากไม่ดำเนินการบันทึกข้อมูลในระบบ e-GP ระยะที่ 2 จะไม่สามารถดำเนินการเบิกจ่ายเงินได้ เนื่องจาก e-GP มีการเชื่อมโยงข้อมูลกับระบบ GFMIS
          2. กรณีที่ไม่ได้มีการเบิกจ่ายเงินผ่านระบบ GFMIS
              2.1 เจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินของหน่วยงานของรัฐ ต้องตรวจสอบให้มีเลขคุมสัญญาในระบบ e-GP ก่อนดำเนินการจ่ายเงินให้กับผู้ค้า
              2.2 การเบิกจ่ายเงินงบประมาณงบเงินอุดหนุน ประเภทเงินอุดหนุนเฉพาะกิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
                     - เจ้าหน้าที่สำนักงานท้องถิ่นจังหวัดต้องตรวจสอบให้มีเลขคุมสัญญาในระบบ e-GP ก่อนดำเนินการส่งคำขอเบิกเงินมายังกรมบัญชีกลาง สำนักงานคลังจังหวัด
                     - เจ้าหน้าที่กรมบัญชีกลาง สำนักงานคลังจังหวัด ตรวจสอบให้มีเลขคุมสัญญาในระบบ e-GP ก่อนดำเนินการจ่ายเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของหน่วยงาน

ที่มา : หนังสือเวียน ด่วนที่สุด ที่ กค 0421.4/ว 50 ลงวันที่ 22 พฤษภาคม 2556

การคืนหลักประกันสัญญา (กรณีที่หาหนังสือค้ำประกันไม่พบ)

          เมื่อคู่สัญญาพ้นจากข้อผูกพันตามสัญญาแล้ว และปรากฎว่าส่วนราชการค้นหาต้นฉบับหนังสือค้ำประกันของธนาคาร บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน หรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ที่คู่สัญญานำมาวางเป็นหลักประกันสัญญาไม่พบ ไม่ว่าด้วยเหตุใด เป็นเหตุให้ส่วนราชการไม่สามารถคืนหนังสือค้ำประกันสัญญาดังกล่าวให้แก่คู่สัญญาตามระเบียบฯ ข้อ 144(2) ได้
          กรณีนี้ให้ส่วนราชการรีบแจ้งให้คู่สัญญา และธนาคาร บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน หรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ผู้ค้ำประกัน ทราบว่าหนังสือค้ำประกันสัญญาดังกล่าวหมดระยะเวลาการค้ำประกันแล้ว เมื่อวัน เดือน ปี พร้อมทั้งส่งสำเนาหนังสือค้ำประกันสัญญาดังกล่าว (ถ้ามี) ไปด้วย
          ทั้งนี้ ให้ส่วนราชการดำเนินการตามวิธีปฏิบัติเพิ่มเติมเกี่ยวกับการตรวจสอบความชำรุจบกพร่องก่อนการคืนหลักประกันสัญญา ตามหนังสือสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ นร (กวพ) 1002/ว 42 ลงวันที่ 15 กันยายน 2535 โดยเคร่งครัดอีกส่วนหนึ่ง

ที่มา : หนังสือเวียน ที่ นร (กวพ) 1305/ว 8608 ลงวันที่ 5 ตุลาคม 2544

วันอังคารที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2556

การส่งหนังสือบอกเลิกสัญญา

          กรณีที่ส่วนราชการผู้ซื้อหรือผู้ว่าจ้างแสดงเจตนาบอกเลิกสัญญาโดยวิธีการส่งหนังสือบอกเลิกสัญญากับผู้ขายหรือผู้รับจ้าง ซึ่งเป็นบริษัทจำกัด หรือ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ทางไปรษณีย์แล้วปรากฎว่าไม่ถึงผู้รับ ให้ส่วนราชการพิจารณาตรวจสอบกับหน่วยงานที่ออกหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลก่อน หากปรากฎว่าบริษัทจำกัด หรือ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ได้มีการเปลี่ยนแปลงภูมิลำเนา หรือ ที่อยู่ใหม่ ให้ส่วนราชการผู้ซื้อหรือผู้ว่าจ้างแจ้งการบอกเลิกสัญญาไปยังภูมิลำเนา หรือ ที่อยู่ใหม่ อีกครั้ง

ที่มา : หนังสือเวียน ที่ นร(กวพ) 1002/ว44 ลงวันที่ 19 กันยายน 2532

วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556

หนังสือค้ำประกันซองงานซื้อ / งานจ้าง ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์

           กรมบัญชีกลางได้แจ้งเวียนซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการกำหนดระยะเวลาค้ำประกันในหนังสือค้ำประกันของผุ้ประสงค์จะเสอนราคา ปรากฏว่ามีผู้เสนอราคาบางรายยื่นหลักประกันซองที่เป็นหนังสือค้ำประกัน ซึ่งมีระยะเวลาค้ำประกันน้อกยว่าระยะเวลาที่กำหนดไว้ตามเงื่อนไขในเอกสารประกวดราคาซื้อ / จ้าง ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เป็นเหตุให้ไม่ผ่านการคัดเลือกคุณสมบัติเบื้องต้นนั้น เพื่อให้เกิดความชัดเจน คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (กวพ.อ.) จึงอาศัยอำนาจตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็อทรอนิกส์ พ.ศ. 2549 ข้อ 5 ประกอบข้อ 7(5) กำหนดตัวอย่างหนังสือค้ำประกันซองงานซื้อ / จ้าง ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์  ด้งตัวอย่าง

ที่มา : หนังสือกรมบัญชีกลาง ที่ กค (กวพอ) 0421.3/ว 24 ลงวันที่ 22 มกราคม 2556

วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

การนำหลักประกันซองมาใช้เป็นหลักประกันสัญญา

          ตามที่ระเบียบสำนักรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 141 กำหนดประเภทของหลักประกันซองหรือหลักประกันสัญญา ให้ใช้หลักประกันอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
          (1) เงินสด
          (2) เช็คที่ธนาคารเซ็นสั่งจ่าย ซึ่งเป็นเช็คลงวันที่ที่ใช้เช็คนั้นชำระต่อเจ้าหน้าที่ หรือก่อนวันนั้นไม่เกิน 3 วันทำการ
          (3) หนังสือค้ำประกันของธนาคารภายในประเทศตามตัวอย่างที่ กวพ. กำหนด
          (4) หนังสือค้ำประกันของบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุนหรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการเงินทุนเพื่อการพาณิชย์และประกอบธุรกิจค้ำประกันตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย ตามรายชื่อบริษัทเงินทุนที่ธนาคารแห่งประเทศไทยแจ้งเวียนให้ส่วนราชการต่างๆ ทราบแล้ว โดยอนุโลมให้ใช้ตามตัวอย่างหนังสือค้ำประกันของธนาคารที่ กวพ. กำหนด
          (5) พันธบัตรรัฐบาลไทย

          และข้อ 144 กำหนดให้ส่วนราชการคืนหลักประกันให้แก่ผู้เสนอราคาคู่สัญญาหรือผู้ค้ำประกัน ตามหลักเกณฑ์ดังนี้
          1) หลักประกันซองให้คืนให้แก่ผู้เสนอราคาหรือผู้ค้ำประกันภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้พิจารณาในเบื้องต้นเรียบร้อยแล้ว เว้นแต่ผู้เสนอราคารายที่คัดเลือกไว้ซึ่งเสนอราคาต่ำสุดไม่เกิน 3 ราย ให้คืนได้ต่อเมื่อได้ทำสัญญาหรือข้อตกลง หรือผู้เสนอราคาได้พ้นจากข้อผูกพันแล้ว
          2) หลักประกันสัญญาให้คืนให้แก่คู่สัญญาหรือผู้ค้ำประกันโดยเร็ว และอย่างช้าต้องไม่เกิน 15 วัน นับแต่วันที่คู่สัญญาพ้นจากข้อผูกพันตามสัญญาแล้ว

         คณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุ (กวพ.) ได้พิจารณาเห็นว่า เพื่อให้กการการปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ.2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ของส่วนราชการเป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว และคล่องตัวยิ่งขั้น และเพื่อช่วยเหลือและแบ่งเบาภาระให้แก่ผู้รับจ้างหรือผู้ขายที่ได้รับคัดเลือกให้เข้าทำสัญญากับทางราชการ จึงเห็นสมควรอนุมัติยกเว้นเป็นหลักการว่า ในกรณีที่ผู้เสนอราคารายใดได้นำหลักประกันซอง ตามนัยระเบียบฯ ข้อ 141 (1) และ (2) ซึ่งส่วนราชการได้นำเข้าบัญชีเงินฝากของส่วนราชการนั้นแล้ว หากต่อมาผู้เสนอราคารายนั้นได้รับการคัดเลือกให้เข้าทำสัญญากับทางราชการ และมีความประสงค์จะนำหลักประกันซองดังกล่าว มาใช้เป็นหลักประกันสัญญาต่อไป ก็ให้สามารถกระทำได้ ทั้งนี้ โดยมีเงื่อนไขว่าในวันทำสัญญา ส่วนราชการคู่สัญญาจะต้องดำเนินการจัดให้มีการทำหลักฐานการคืนหลักประกันซอง พร้อมทั้งจัดทำหลักฐานการวางหลักประกันสัญญาให้แก่คู่สัญญา ให้เสร็จสิ้นภายในวันเดียวกันกับวันทำสัญญานั้น โดยคู่สัญญาต้องนำหลักประกันซอง (เพิ่ม-ลด) มาวางให้เท่ากับลงเงินหลักประกันสัญญา